23 กันยายน 2564

GC บรรยายในงานสัมมนา "Thailand Survival Post-COVID-19 #5: เจาะนวัตกรรม เปลี่ยนโฉมหน้าธุรกิจ" ภายใต้หัวข้อ "Smart Business Smart Thailand"

เมื่อวันที่ 23 กันยายน 2564 คุณปฏิภาณ สุคนธมาน ผู้จัดการใหญ่ ได้ร่วมบรรยายในงานสัมมนา “Thailand Survival Post-COVID-19 #5: เจาะนวัตกรรม เปลี่ยนโฉมหน้าธุรกิจ” ผ่านระบบ Virtual Conference จัดโดย The Nation Thailand ภายใต้หัวข้อ “Smart Business Smart Thailand” สะท้อนแนวทางการปรับตัวขององค์กรต่าง ๆ ในยุคหลังวิกฤตโควิด 19

คุณปฏิภาณ ได้เกริ่นถึงแหล่งกำเนิดและคุณูปการของอุตสาหกรรมปิโตรเคมี ที่สร้างธุรกิจต่อเนื่องหลากหลายให้กับประเทศไทยและประเทศเพื่อนบ้าน โดยได้เน้นย้ำว่า ธุรกิจปิโตรเคมีใด ๆ จะประสบความสำเร็จได้ ต้องยึดหลัก “Big, Long, and Strong” ซึ่งหมายถึง ต้องมี Value Chain ที่มีขนาดใหญ่ หลากหลาย และแข็งแรง

นอกจากนี้ ยังได้เน้นย้ำว่า องค์กรต่าง ๆ ได้ปรับทิศทางการดำเนินธุรกิจ พร้อมรับมือความท้าทายจาก Megatrend หลัก ๆ คือ การเปลี่ยนผ่านด้านพลังงาน และปัญหาภาวะโลกร้อน สำหรับด้านการเปลี่ยนผ่านด้านพลังงาน GC ได้ปรับ Value Chain ให้เข้าสู่ Downstream และเข้าถึงผู้ใช้มากขึ้น ศึกษาความได้เปรียบของธุรกิจ พัฒนาผลิตภัณฑ์ให้แตกต่างจากคู่แข่ง และร่วมมือกับพันธมิตรในต่างประเทศ ผ่านการ Joint Ventures และ Acquisitions ต่าง ๆ เพื่อให้สามารถเข้าถึงเทคโนโลยีและเข้าสู่ตลาดได้อย่างรวดเร็วยิ่งขึ้น และ GC ยังได้พัฒนานวัตกรรมและปรับคุณสมบัติของผลิตภัณฑ์ตามความต้องการของลูกค้าในแต่ละประเภทธุรกิจ (Voice of Customers และ Voice of Markets) ด้วยการทำวิจัยและพัฒนา (R&D)

ด้านปัญหาภาวะโลกร้อนและการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (Climate Change) GC ได้ดำเนินการด้านเศรษฐกิจหมุนเวียนมาอย่างต่อเนื่อง ทั้งการนำหลักเศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) และหลัก 3Rs (Reduce Reuse และ Recycle) มาปรับใช้ในองค์กรให้เติบโตอย่างยั่งยืน ผลักดันให้เกิดผลที่เป็นรูปธรรมร่วมกับพันธมิตรและทุกภาคส่วน ผ่านโครงการต่าง ๆ รวมถึงร่วมลงทุนกับพันธมิตรในธุรกิจพลาสติกชีวภาพ (Bioplastics) เพื่อพัฒนานวัตกรรมพลาสติกทางเลือกจากวัตถุดิบจากธรรมชาติที่มีในประเทศไทย เช่น อ้อย อีกทั้ง GC ได้ยกระดับการดำเนินงานด้านความยั่งยืนเพื่อบรรลุเป้าหมาย Net Zero ในปี พ.ศ. 2593 ภายใต้กรอบการดำเนินงาน Low Carbon Transition Framework ได้แก่ Efficiency-driven (ปรับปรุงเทคโนโลยีเพื่อการผลิตอย่างรู้คุณค่า ลดการสูญเสียพลังงานจาก สินทรัพย์ที่มีในปัจจุบัน) Portfolio-driven (ปรับทิศทางการลงทุนสู่ธุรกิจคาร์บอนต่ำ และ Circularity ทั้งการขยายธุรกิจสู่ Downstream ซึ่งปลดปล่อยคาร์บอนน้อย การศึกษาธุรกิจใหม่ เช่น Biofuels และ Biochemicals รวมถึงการลงทุนผ่าน CVC และการร่วมทุน) และ Compensation-driven (แสวงหาเทคโนโลยีกักเก็บคาร์บอนที่มีประสิทธิภาพสูง มีต้นทุนที่แข่งขันได้มาประยุกต์ใช้)

ข่าวอื่นๆ