GC_ONE REPORT 2021_TH

ปัจจัยความเสี่ยง มาตรการจัดการความเสี่ยงที่สำ�คัญ ปัจจัยความเสี่ยงจากการปรับตัว เพื่อรับมือกับวิกฤตภัยพิบัติ ทางธรรมชาติ (Extreme Weather and Climate Events Adaptation) ภั ย ธ ร ร ม ช า ติ ที่ เ ป็ น ผ ล ม า จ า ก ก า ร เปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศมีเเนวโน้ม การเกิดเเละความรุนเเรงเพิ่มขึ้น โดย องค์การอุตุนิยมวิทยาโลก (WMO) เผยว่า ในช่วง 50 ปีที่ผ่านมา ภัยพิบัติทาง สภาพอากาศ อาทิ น้ำ �ท่วม คลื่นความร้อน ภัยแล้ง มีความถี่การเกิดเพิ่มขึ้น 5 เท่า และ ความรุนแรงที่สร้างความเสียหายมากขึ้น ถึง 7 เท่า ซึ่งภัยพิบัติทางธรรมชาติที่ ทวีความรุนแรงขึ้นนี้จะส่งผลกระทบต่อ ทรัพย์สิน ตลอดจนความต่อเนื่องในการ ดำ �เนินธุรกิจของบริษัทฯ หากบริษัทฯ ไม่มี การปรับตัวและเตรียมการรับมือไว้อย่าง เพียงพอ บริษัทฯ ตระหนักถึงความจำ �เป็นในการเตรียมความพร้อมรับมือต่อเหตุการณ์ ดังกล่าวให้ทันท่วงที โดยได้มีการดำ �เนินการ ดังนี้ บริษัทฯ ท� ำการฝึกซ้อมแผนการบริหารความต่อเนื่องทางธุรกิจในสถานการณ์ สมมุติที่แตกต่างกันไปทั้งในระดับองค์กร ระดับกลุ่มธุรกิจ/สายงาน รวมถึง บริษัทในกลุ่ม เพื่อให้มั่นใจว่าผู้บริหารและพนักงานที่เกี่ยวข้องได้รับทราบถึง บทบาทหน้าที่และสิ่งที่ต้องปฏิบัติเมื่อเกิดอุบัติการณ์ขึ้น และช่วยให้สามารถบ่งชี้ ถึงข้อบกพร่องต่างๆ ในการด� ำเนินมาตรการส� ำรอง เพื่อน� ำไปปรับปรุงแก้ไข ก่อนที่จะเกิดอุบัติการณ์จริงขึ้น พัฒนาระบบ Incident Management System (IMS) เพื่อจัดการข้อมูลอุบัติการณ์ ที่เกิดขึ้น ตั้งแต่ภาวะฉุกเฉิน ขยายความรุนแรงเป็นภาวะวิกฤต และประกาศ ใช้แผนความต่อเนื่องทางธุรกิจ (BCP) โดยผู้บริหารสามารถติดตามสถานการณ์ ดูรายละเอียดของอุบัติการณ์ สถานที่เกิดเหตุ ตลอดจนบทบาทหน้าที่ ความรับผิดชอบ เพื่อให้ผู้บริหารใช้ประกอบการตัดสินใจและสั่งการได้อย่าง เหมาะสม จัดให้มีการอบรมหลักสูตร Risk & Disaster Management เพื่อให้พนักงานมี ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการเกิดภัยพิบัติทางธรรมชาติในรูปแบบต่างๆ และเตรียมความพร้อมรับมือกับภัยธรรมชาติที่อาจเกิดขึ้น ร่วมกับบริษัทที่ปรึกษาในการประเมินโอกาสการเกิดภัยพิบัติทางธรรมชาติใน อนาคต และคาดการณ์ผลกระทบทั้งต่อทรัพย์สินและการด� ำเนินธุรกิจของบริษัทฯ เพื่อเป็นข้อมูลส� ำหรับเฝ้าระวังและเตรียมการรองรับสถานการณ์ความเสี่ยงภายใต้ สถานการณ์ภัยพิบัติที่อาจเกิดขึ้นได้ โดยได้ด� ำเนินการตามมาตรฐานสากล ภายใต้กรอบของ Task Force on Climate-related Financial Disclosures (TCFD) ปัจจัยความเสี่ยงจากการเปลี่ยนแปลง ที่รวดเร็วและการใช้เทคโนโลยีขั้นสูง (Impacts from Advanced and Deep Technology) ปัจจุบันทั้งเทคโนโลยีและเทคโนโลยีดิจิทัลมีการ พัฒนาอย่างรวดเร็วและต่อเนื่อง ส่งผลกระทบ สำ �คัญต่อการเปลี่ยนแปลงตลาด การพัฒนา ผลิตภัณฑ์และรูปแบบการดำ �เนินธุรกิจ ซึ่งการ เปลี่ยนแปลงดังกล่าวเป็นทั้งโอกาสและความ ท้าทายต่อการดำ �เนินธุรกิจของบริษัทฯ อาทิ การเติบโตแบบก้าวกระโดดของเครื่องจักร อัตโนมัติ (Automation Machine) เทคโนโลยี ปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence: AI) และ เทคโนโลยีหุ่นยนต์ (Robotics) ซึ่งจะสามารถ ยกระดับประสิทธิภาพในการดำ �เนินธุรกิจของ บริษัทฯ แต่ในขณะเดียวกันก็นำ �มาซึ่งความท้าทาย ทั้งในบริบทของการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน ด้านเทคโนโลยีและดิจิทัล รวมทั้งการเสริมสร้าง ความสามารถของบุคลากรให้สอดรับต่อความ ก้าวหน้าของเทคโนโลยีใหม่ นอกจากนี้ การนำ � เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ซึ่งมีความสามารถ ในการเข้าถึง เรียนรู้ และวิเคราะห์ข้อมูล ขนาดใหญ่ (Big Data) ได้อย่างรวดเร็วอาจมี ความเสี่ยงในเรื่องสิทธิมนุษยชนและจริยธรรม เช่น ผลกระทบต่อการจ้างงาน ผู้รับผิดชอบ ต่อความผิดพลาด ความไว้ใจระหว่างคน และ ปัญญาประดิษฐ์ เป็นต้น บริษัทฯ ตระหนักถึงความเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็วของเทคโนโลยีขั้นสูง และได้ดำ �เนินการ บริหารจัดการผลกระทบต่อธุรกิจบริษัทฯ ดังนี้ ยกระดับการด� ำเนินงานด้านนวัตกรรม รวมถึงการน� ำเทคโนโลยีใหม่ๆ โดยเฉพาะ เทคโนโลยีดิจิทัลมาปรับปรุงโรงงานให้ทันสมัย (Modernization & Innovation) พัฒนากระบวนการผลิตให้เป็นแบบ Smart Plant มีหน่วยงานเพื่อดูแลด้านการปฏิรูปธุรกิจสู่ความเป็นเลิศ รองรับการปรับเปลี่ยน ไปใช้เทคโนโลยีดิจิทัล (Digital Technology Transformation) เพื่อให้บริษัทฯ สามารถรักษาความสามารถในการแข่งขันได้อย่างยั่งยืนในอนาคต โดยมุ่งเน้น การด� ำเนินงานใน 3 ด้านหลัก ได้แก่ (1) ด้านธุรกิจ – ประยุกต์ใช้เทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการ แข่งขันและตอบสนองความต้องการของผู้มีส่วนได้เสีย รวมทั้งประเมิน ผลกระทบและก� ำหนดมาตรการรองรับส� ำหรับความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้น (2) ด้านเทคโนโลยี – พัฒนาสถาปัตยกรรมฐานข้อมูล (IT/ Data Architecture) และเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการภัยคุกคามทางไซเบอร์ (3) ด้านบุคลากร – เสริมสร้างความรู้ความเข้าใจให้บุคลากรให้สอดรับต่อ ความก้าวหน้าของเทคโนโลยีใหม่ รวมถึงการปรับเปลี่ยนด้านเทคโนโลยีดิจิทัล ก� ำหนดแผนการด� ำเนินงานด้าน Digital Transformation ที่ชัดเจน แบ่งออกเป็น 3 ระยะ ได้แก่ (1) Digitization มุ่งเน้นการน� ำเทคโนโลยีมาปรับปรุงประสิทธิภาพ และ เพิ่มผลผลิตของกระบวนการท� ำงาน (2) Digital Transformation of Function (DTF) มุ่งเน้นการปรับเปลี่ยน กระบวนการและวิธีท� ำงานด้วยเทคโนโลยี และการใช้การวิเคราะห์ข้อมูลขั้นสูง (Advanced Analytics) และ (3) Digital Transformation of Business (DTB) ที่สามารถสร้างให้เป็นโอกาส ในการท� ำธุรกิจใหม่ หรือเปลี่ยนแปลงรูปแบบของธุรกิจเดิม น� ำการลงทุนด้วยรูปแบบ Corporate Venture Capital (CVC) มาเป็นกลไก ส� ำคัญในการขับเคลื่อนกลยุทธ์การเติบโตของบริษัทฯ โดยได้มีการแสวงหาโอกาส การลงทุนในเทคโนโลยีดิจิทัลหรือนวัตกรรมใหม่ บริษัทฯ เชื่อว่าการด� ำเนินการตามมาตรการจัดการความเสี่ยงข้างต้นจะช่วยลดความเสี่ยงต่างๆ ลง และเพิ่มโอกาสทางธุรกิจ เพื่อการเติบโตอย่างยั่งยืน อีกทั้งจะท� ำให้บริษัทฯ สามารถบรรลุเป้าหมายในการด� ำเนินธุรกิจตามทิศทางและแผนกลยุทธ์ที่วางไว้ 87 การประกอบธุรกิจ และผลการดำ �เนินงาน การกำ �กับดูแลกิจการ งบการเงิน ภาคผนวก

RkJQdWJsaXNoZXIy ODg4NTI=