GC One Report 2023 [TH]

ต้องการตลาด และการพัฒนากฎระเบียบที่บังคับใช้เม็ด พลาสติกรีไซเคิล ดังนั้น ความต้องการตลาดในภูมิภาคนี้จึงมี การขยายตัวในระดับที่ไม่สูงมาก นอกจากนี้ บริษัทฯ คาดว่าจะ มีการแข่งขันเพิ่มขึ้นในตลาดอาหารและเครื่องดื่มที่ใช้ PCR PET ด้วยคู่แข่งรายอื่นในประเทศทยอยได้รับการรับรองความ ปลอดภัยจากคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ส� ำหรับ PCR HDPE ซึ่งพึ่งพากลุ่มสินค้าอุปโภคบริโภคเป็นหลักนั้น ยังคงมี ความไม่ชัดเจนของแผนการใช้เม็ดพลาสติกรีไซเคิลทดแทน เม็ดพลาสติกใหม่ ท� ำให้คาดว่าอุปสงค์ในภูมิภาคเอเชีย ตะวันออกเฉียงใต้ยังคงมีอัตราการขยายตัวในระดับไม่สูงมาก จึงต้องส่งออกไปยังภูมิภาคอื่นๆ เช่น ยุโรป สหรัฐอเมริกา ตะวันออกกลาง อินเดีย เป็นต้น ผลิตภัณฑ์ตลาดกลุ่ม Value Added Oleochemicals (VAO) สถานการณ์ตลาดกลุ่ม Value Added Oleochemicals (VAO) ปี 2566 สถานการณ์ตลาดผลิตภัณฑ์เมทิลเอสเทอร์ของประเทศไทย ในปี 2566 ปรับตัวดีขึ้นจากปีก่อนหน้า โดยมีความต้องการใช้ ผลิตภัณฑ์อยู่ที่ประมาณ 1.39 ล้านตันต่อปี เพิ่มขึ้น 0.2 ล้านตัน ซึ่งมีปัจจัยหลักมาจากนโยบายของภาครัฐที่คงอัตราการผสม น�้ ำมันไบโอดีเซลที่ B7 ตลอดทั้งปี อย่างไรก็ตาม ความต้องการ ใช้ไบโอดีเซลโดยรวมยังถูกกดดันจากการชะลอตัวของกิจกรรม ทางเศรษฐกิจที่ซบเซาลงตามตลาดโลก ท� ำให้ปริมาณการใช้ ดีเซลหมุนเร็วในประเทศลดลงถึงร้อยละ 3 เมื่อเปรียบเทียบกับ ช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อนหน้า ในขณะที่ด้านก� ำลังการผลิต ในปี 2566 ปรับตัวเพิ่มสูงขึ้นเล็กน้อย เนื่องจากมีการขยาย ก� ำลังการผลิตจากผู้ผลิตอื่นประมาณ 115,000 ตันต่อปี ท� ำให้ มีการแข่งขันที่รุนแรงขึ้น ทั้งนี้ คาดการณ์ว่าก� ำลังการผลิตเฉลี่ย ของอุตสาหกรรมในปี 2566 จะอยู่ที่ประมาณร้อยละ 40-45 ในขณะที่ราคาผลิตภัณฑ์เมทิลเอสเทอร์ในประเทศลดลงมาอยู่ ที่ประมาณ 39.22 บาทต่อกิโลกรัม ลดลง 14.39 บาทต่อ กิโลกรัม ซึ่งอ่อนค่าลงตามราคาน�้ ำมันปาล์มดิบภายในประเทศ และจากการปรับสูตรโครงสร้างราคาผลิตภัณฑ์เมทิลเอสเทอร์ ใหม่อ้างอิงของส� ำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน (Energy Policy and Planning Office: EPPO) กระทรวงพลังงาน ที่มีผลตั้งแต่วันที่ 3 ตุลาคม 2565 เป็นต้นมา สถานการณ์ตลาดผลิตภัณฑ์แฟตตี้แอลกอฮอล์ปี 2566 ความต้องการมีแนวโน้มปรับตัวดีขึ้นเล็กน้อย เมื่อเทียบกับ ปีก่อนหน้า โดยมีสาเหตุหลักจากการฟื้นตัวของสถานการณ์ โควิด อย่างไรก็ตาม ตลาดโดยรวมยังคงผันผวน โดยเฉพาะ ประเทศจีนที่กิจกรรมทางเศรษฐกิจยังคงไม่ฟื้นตัวเท่าที่คาดการณ์ อีกทั้งลูกค้าในประเทศอินเดียมีการชะลอการจัดซื้อสินค้า เนื่องจากรัฐบาลมีการประกาศใช้มาตรการตอบโต้การอุดหนุน (Countervailing Duty: CVD) โดยปรับเพิ่มภาษีการน� ำเข้า สินค้าในช่วงอัตราร้อยละ 3 ถึงร้อยละ 30 ส� ำหรับผู้น� ำเข้าจาก ประเทศอินโดนีเซีย มาเลเซีย และไทย นอกจากนี้ ยังมีปัจจัย อ่อนไหวจากเรื่องภาวะเศรษฐกิจโลกที่ถดถอย ภาวะเงินเฟ้อ และสถานการณ์ความขัดแย้งทางภูมิรัฐศาสตร์ ซึ่งกระทบต่อ ความเชื่อมั่นของผู้เล่นในตลาดให้มีความระมัดระวังในการจัดซื้อ ผลิตภัณฑ์มากขึ้น และจัดซื้อเท่าที่เพียงพอกับการใช้งานใน แต่ละครั้งเท่านั้น โดยด้านอุปทานของตลาดไม่มีการประกาศ นโยบายการจ� ำกัดและห้ามการส่งออกน�้ ำมันปาล์ม (Domestic Market Obligation: DMO) ของประเทศผู้ผลิตรายใหญ่อย่าง อินโดนีเซียเหมือนเช่นในปีที่ผ่านมา ถึงแม้ว่าผู้ผลิตบางรายจะ มีการหยุดด� ำเนินการผลิตไปบ้างก็ตาม แต่จากการที่ผู้ผลิต แฟตตี้แอซิด (Fatty Acids) หลายรายได้มีการปรับสายการผลิต มาเป็นแฟตตี้แอลกอฮอล์มากขึ้น จึงส่งผลให้ภาพรวมอุปทาน ของตลาดแฟตตี้แอลกอฮอล์ปรับเพิ่มสูงขึ้น โดยราคาเฉลี่ย ผลิตภัณฑ์แฟตตี้แอลกอฮอล์ปรับตัวลดลงค่อนข้างมากเมื่อ เทียบกับปีก่อนหน้า จากราคาประมาณ 2,335 เหรียญสหรัฐฯ ต่อตัน มาอยู่ที่ราคา 1,467 เหรียญสหรัฐฯ ต่อตัน ลดลง 868 เหรียญสหรัฐฯ ต่อตัน ตามราคาวัตถุดิบน�้ ำมันเมล็ดในปาล์ม (CPKO) ที่ปรับตัวอ่อนค่าลงตามแนวโน้มการชะลอตัวของ เศรษฐกิจ สถานการณ์ตลาดผลิตภัณฑ์แฟตตี้แอลกอฮอล์อีทอกซีเลท ความต้องการผลิตภัณฑ์ชะลอตัวลงเมื่อเทียบกับปีก่อน โดยใน ช่วงครึ่งปีแรกของปี 2566 มีความต้องการเพิ่มสูงขึ้นใน ไตรมาสแรก จากความกังวลในการปรับตัวของต้นทุนวัตถุดิบ และเริ่มชะลอตัวชัดเจนเมื่อราคาวัตถุดิบอ่อนตัวลงในไตรมาส ที่ 2 ในขณะที่ช่วงครึ่งปีหลังความต้องการกลับมาฟื้นตัวอีกครั้ง จากราคาวัตถุดิบแฟตตี้แอลกอฮอล์และเอทิลีนออกไซด์ที่ปรับตัว สูงขึ้น ในขณะที่ด้านอุปทานมีการปรับตัวลดลงจากการประกาศ หยุดการผลิตเพื่อบ� ำรุงรักษาประจ� ำปีของผู้ผลิตรายใหญ่บางราย ในไตรมาสที่ 3 และจากสภาวะเศรษฐกิจชะลอตัวในประเทศจีน ส่งผลให้ผู้ผลิตในประเทศจีนเริ่มส่งออกผลิตภัณฑ์ Sodium Lauryl Ether Sulfate (SLES) เพื่อหาช่องทางในการขาย ท� ำให้ เกิดการแทรกแซงของราคาผลิตภัณฑ์ดังกล่าว และกระทบต่อ อุปสงค์ของผลิตภัณฑ์ต้นน�้ ำอย่างแฟตตี้แอลกอฮอล์อีทอกซีเลท ท� ำให้ในปี 2566 ราคาเฉลี่ยผลิตภัณฑ์แฟตตี้แอลกอฮอล์ อีทอกซีเลท ปรับตัวลดลงมาอยู่ที่ 1,448 เหรียญสหรัฐฯ ต่อตัน ลดลง 442 เหรียญสหรัฐฯ ต่อตัน หรือคิดเป็นร้อยละ 23 เมื่อเทียบกับราคาขายปีก่อนหน้า สถานการณ์ตลาดผลิตภัณฑ์ในกลุ่มโอลีโอเคมีในปี 2566 มี ความต้องการผลิตภัณฑ์ลดลง โดยเป็นผลกระทบจากการชะลอ ตัวทางเศรษฐกิจและการผลิตในหลายภูมิภาค ซึ่งส่งผลให้มี การชะลอการสั่งซื้อวัตถุดิบและปรับลดระดับสินค้าคงคลังของ ผู้ผลิตตลอดห่วงโซ่อุปทาน 76

RkJQdWJsaXNoZXIy ODg4NTI=