GC One Report 2023 [TH]

ที่รัดกุมเพื่อควบคุมอัตราเงินเฟ้อ ในขณะที่อุปทานมีการขยายตัว เพิ่มขึ้นเป็น 8.9 ล้านตัน โดยก� ำลังการผลิตที่เพิ่มขึ้นมาจาก ผู้ผลิตในประเทศจีนเป็นส่วนใหญ่ จากนโยบายพึ่งพาการผลิต ในประเทศ ส่งผลให้อุปทานส่วนเกินถูกส่งออกมาในตลาดเพิ่มขึ้น และกดดันราคาผลิตภัณฑ์ให้ลดลงอย่างต่อเนื่อง ท� ำให้ก� ำไร ของผู้ผลิตในเอเชียลดลงและต้องปรับลดก� ำลังการผลิต โดย อัตราก� ำลังการผลิตเฉลี่ยในปี 2566 อยู่ที่ร้อยละ 70 ปรับตัว ลดลงร้อยละ 4 จากปี 2565 ส่งผลให้ราคาเฉลี่ยผลิตภัณฑ์ อะคริโลไนไตรล์ในปี 2566 อยู่ที่ 1,266 เหรียญสหรัฐฯ ต่อตัน ปรับลดลงเมื่อเทียบกับปี 2565 สถานการณ์ตลาดผลิตภัณฑ์เมทิลเมทาคริเลตปี 2566 ยังคง ชะลอตัว โดยความต้องการของผลิตภัณฑ์อยู่ที่ 3.6 ล้านตัน ซึ่งมีอัตราการเติบโตลดลงร้อยละ 0.9 ประกอบกับภาวะเศรษฐกิจ กดดันการฟื้นตัวของผลิตภัณฑ์ปลายน�้ ำในอุตสาหกรรมต่างๆ เช่น อุตสาหกรรมยานยนต์ อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ และ อุตสาหกรรมก่อสร้าง เป็นต้น ขณะที่อุปทานของผลิตภัณฑ์ เมทิลเมทาคริเลตอยู่ที่ 6.1 ล้านตัน อยู่ในภาวะอุปทานล้นตลาด เช่นเดียวกับผลิตภัณฑ์อะคริโลไนไตรล์ โดยจากอุปทานส่วนเกิน ส่งผลให้อัตราก� ำลังการผลิตเฉลี่ยของผู้ผลิตเมทิลเมทาคริเลต อยู่ที่ร้อยละ 58 ลดลงร้อยละ 5 จากปี 2565 และมีผลให้ราคา เฉลี่ยผลิตภัณฑ์เมทิลเมทาคริเลตในปี 2566 อยู่ที่ 1,542 เหรียญสหรัฐฯ ต่อตัน ลดลงเมื่อเทียบกับปี 2565 แนวโน้มสถานการณ์ตลาด ผลิตภัณฑ์ปิโตรเคมีขั้นกลางอื่นๆ ปี 2567 สถานการณ์ตลาดของผลิตภัณฑ์กรดเทเรฟทาลิกบริสุทธิ์ ปี 2567 คาดว่าความต้องการจะฟื้นตัวแบบค่อยเป็นค่อยไป จากไม่ถึงร้อยละ 3 ในปี 2566 มาอยู่ที่ระดับร้อยละ 4-5 ในปี 2567 จากกิจกรรมทางเศรษฐกิจต่างๆ ทั่วโลก โดยเฉพาะการ ค้าขาย การท่องเที่ยว และอื่นๆ ที่จะเริ่มกลับมาฟื้นตัวสู่ระดับ ปกติมากขึ้นโดยเฉพาะในช่วงครึ่งปีหลัง ในขณะที่ด้านก� ำลัง การผลิตใหม่ของกรดเทเรฟทาลิกบริสุทธิ์คาดว่าจะเริ่มชะลอตัว จากระดับที่มากกว่า 10 ล้านตันต่อปี ในปี 2566 เหลือ 7-8 ล้านตันต่อปี ในปี 2567 จึงท� ำให้คาดการณ์ได้ว่าส่วนต่าง ระหว่างราคาผลิตภัณฑ์และวัตถุดิบในปี 2567 จะสามารถปรับตัว ขึ้นอยู่เหนือ 100 เหรียญสหรัฐฯ ต่อตัน อีกครั้ง สถานการณ์ตลาดผลิตภัณฑ์โพรพิลีนออกไซด์ในปี 2567 คาดว่าได้รับปัจจัยสนับสนุนจากอุปสงค์ที่จะปรับเพิ่มสูงขึ้น 0.26 ล้านตันต่อปี ประกอบกับภาพรวมเศรษฐกิจที่คาดว่าจะ มีทิศทางที่ค่อยๆ ปรับตัวดีขึ้นในช่วงครึ่งปีหลัง ในขณะที่ สถานการณ์ด้านอุปทานที่ล้นตลาดจะค่อยๆ คลี่คลายจากการ ขยายก� ำลังการผลิตที่มีน้อยลงเมื่อเทียบกับปี 2566 โดยมีการ ขยายก� ำลังการผลิตเพิ่มขึ้น 1.9 ล้านตันต่อปี มาจากประเทศจีน 1.5 ล้านตันต่อปี จากสหรัฐฯ 0.2 ล้านตันต่อปี และประเทศอื่นๆ 0.2 ล้านตันต่อปี ซึ่งจะเป็นปัจจัยสนับสนุนต่อภาพรวมตลาด ท� ำให้มีแนวโน้มปรับตัวสูงขึ้นเมื่อเทียบกับปี 2566 สถานการณ์ตลาดผลิตภัณฑ์อะคริโลไนไตรล์ปี 2567 ปริมาณ ความต้องการผลิตภัณฑ์ใกล้เคียงกับปี 2566 เนื่องจากความ กังวลต่อภาวะเศรษฐกิจและเงินเฟ้อ รวมถึงสถานการณ์ความ ขัดแย้งระหว่างประเทศรัสเซียและยูเครนที่ส่งผลกระทบต่อการ ฟื้นตัวของผลิตภัณฑ์ปลายน�้ ำ เช่น ABS, AF และ NBL ที่ใช้ผลิตภัณฑ์อะคริโลไนไตรล์เป็นวัตถุดิบ ในขณะที่ด้าน อุปทานยังอยู่ในภาวะอุปทานล้นตลาด อย่างไรก็ตาม หากไม่มี การขยายก� ำลังการผลิตใหม่ในปี 2567 จะเป็นผลให้มีปัจจัย สนับสนุนให้ผู้ผลิตปรับเพิ่มก� ำลังการผลิตจากปี 2566 โดยจาก สถานการณ์ภาวะอุปทานล้นตลาดที่เริ่มคลี่คลาย จึงคาดการณ์ ราคาของผลิตภัณฑ์อะคริโลไนไตรล์มีแนวโน้มปรับตัวเพิ่มขึ้น สถานการณ์ตลาดผลิตภัณฑ์เมทิลเมทาคริเลตในปี 2567 ความต้องการผลิตภัณฑ์ปรับเพิ่มขึ้นเพียง 0.2 ล้านตัน จาก ปี 2566 หรืออยู่ที่ 3.8 ล้านตัน โดยอุตสาหกรรมปลายน�้ ำของ เมทิลเมทาคริเลต เช่น PMMA, T-Plastic, Cast sheet และ Paint and Emulsion ยังคงไม่ฟื้นตัว ท� ำให้ผู้ผลิตยังต้อง ควบคุมอัตราก� ำลังการผลิตอยู่ที่ประมาณร้อยละ 56 ปรับตัว ลดลงเล็กน้อยจากปี 2566 ที่ร้อยละ 58 อีกทั้งยังถูกกดดันจาก ภาวะอุปทานล้นตลาดอย่างต่อเนื่อง จากการขยายก� ำลังการผลิต หลายแห่งในประเทศจีนซึ่งคาดการณ์ว่าจะเพิ่มขึ้น 0.4 ล้านตัน ทั้งนี้ จากการควบคุมอัตราก� ำลังการผลิตให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม จึงคาดการณ์ราคาของผลิตภัณฑ์เมทิลเมทาคริเลตมีแนวโน้ม ปรับตัวเพิ่มขึ้น เพื่อรักษาอัตราการท� ำก� ำไรของผลิตภัณฑ์ สถานการณ์ตลาดกลุ่มผลิตภัณฑ์ โพลิเมอร์และเคมีภัณฑ์ (Polymers & Chemicals) ผลิตภัณฑ์โพลิเมอร์ สถานการณ์ตลาด ผลิตภัณฑ์โพลิเมอร์ปี 2566 ภาพรวมตลาดผลิตภัณฑ์โพลิเมอร์ได้รับผลกระทบน้อยลงจาก สถานการณ์แพร่ระบาดไวรัสโควิด-19 ภายหลังจากที่องค์การ อนามัยโลกได้ประกาศให้การแพร่ระบาดโควิด-19 ไม่ถือเป็น ภาวะฉุกเฉินโลกด้านสาธารณสุข ประกอบกับประเทศต่างๆ ทั่วโลกเริ่มผ่อนคลายมาตรการการเดินทางและเปิดประเทศ อย่างเต็มรูปแบบ ซึ่งเป็นปัจจัยสนับสนุนความต้องการใช้ ผลิตภัณฑ์เม็ดพลาสติก นอกจากนี้ ราคาผลิตภัณฑ์โพลิเมอร์ ยังได้รับการสนับสนุนจากราคาวัตถุดิบที่ปรับตัวสูงขึ้นเนื่องจาก การที่ประเทศผู้ผลิตน�้ ำมันรายใหญ่ของโลกทั้งซาอุดีอาระเบีย และรัสเซียประกาศลดก� ำลังการผลิตน�้ ำมันดิบลง อย่างไรก็ตาม ตลาดยังคงถูกกดดันจากอัตราเงินเฟ้อที่ระดับสูงและสภาวะ เศรษฐกิจถดถอย รวมถึงอุปทานส่วนเกินซึ่งเกิดจากการเพิ่ม ก� ำลังการผลิตใหม่ โดยเฉพาะในภูมิภาคเอเชีย 72

RkJQdWJsaXNoZXIy ODg4NTI=