GC One Report 2023 [TH]

แนวโน้มตลาดและธุรกิจในปี 2567 สถานการณ์เศรษฐกิจโลกโดยรวมมีแนวโน้มเติบโตลดลง แม้จะมีการฟื้นตัวจากวิกฤตโควิด-19 สงครามในยูเครน และ วิกฤตพลังงาน แต่ทั้งนี้การเติบโตของโลกมีแนวโน้มอ่อนแอ ทั้งในภาพรวมและรายประเทศ ผนวกกับผลกระทบจากอัตรา ดอกเบี้ยที่สูงในรอบกว่าทศวรรษในประเทศส� ำคัญของโลก และ การเผชิญกับความท้าทายทางเศรษฐกิจ นอกจากนี้ ความ แตกแยกทางภูมิรัฐศาสตร์ยังคงเป็นปัจจัยเสี่ยงที่ส� ำคัญ ทั้งจาก ความยืดเยื้อของสถานการณ์สงครามในรัสเซียและยูเครน และ ประเด็นการสู้รบระหว่างอิสราเอสและฮามาส จึงคาดว่าการ เติบโตจะชะลอตัวจากร้อยละ 3.5 ในปี 2565 เป็นร้อยละ 3.0 ในปี 2566 และร้อยละ 2.9 ในปี 2567 (IMF ตุลาคม 2566) อย่างไรก็ตาม คาดว่าสถานการณ์ทางเศรษฐกิจจะค่อยๆ คลี่คลายอย่างช้าๆ ในช่วงครึ่งปีหลัง จากมาตรการกระตุ้น เศรษฐกิจของนานาชาติ และจะท� ำให้ภาพรวมทางเศรษฐกิจเริ่ม มีทิศทางดีขึ้นอย่างค่อยเป็นค่อยไป กลุ่มผลิตภัณฑ์ปิโตรเคมีขั้นต้น บริษัทฯ คาดการณ์แนวโน้มราคาน�้ ำมันดิบดูไบในปี 2567 อยู่ที่เฉลี่ย 75-85 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล โดยยังมีความ กดดันของภาวะเงินเฟ้อ และอัตราดอกเบี้ยยังคงอยู่ในระดับสูง ต่อเนื่องจากปีก่อนหน้า รวมถึงความไม่แน่นอนจากการฟื้นตัว ของเศรษฐกิจประเทศจีน ซึ่งส่งผลต่อความกังวลต่อการชะลอตัว ของความต้องการใช้น�้ ำมัน ขณะที่ด้านอุปทานคาดการณ์กลุ่ม โอเปกและพันธมิตร (โอเปกพลัส) ยังคงควบคุมก� ำลังการผลิต อย่างต่อเนื่องเพื่อรักษาสมดุลของตลาด อย่างไรก็ตาม คาดการณ์ความตึงตัวของอุปทานจะได้รับปัจจัยสนับสนุนจาก ก� ำลังการผลิตที่เพิ่มขึ้นของประเทศนอกกลุ่มโอเปก เช่น สหรัฐฯ บราซิล หรืออิหร่าน ส� ำหรับผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียมของโรงกลั่น บริษัทฯ คาดว่า สถานการณ์ราคาและส่วนต่างราคาของผลิตภัณฑ์ในปี 2567 มีแนวโน้มอ่อนตัวลงจากในปี 2566 เนื่องจากปัจจัยกดดันทาง เศรษฐกิจ รวมถึงผลพวงของอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่อยู่ใน ระดับสูง และเป็นปัจจัยกดดันต่ออุปสงค์ท� ำให้ชะลอตัวลง ขณะที่อุปทานของผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียมมีแนวโน้มสูงขึ้น โดย บริษัทฯ คาดการณ์ว่าส่วนต่างราคาน�้ ำมันดีเซลกับน�้ ำมันดิบดูไบ เฉลี่ยจะอยู่ที่ 15-19 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล ส่วนต่างราคา น�้ ำมันเตาก� ำมะถันต�่ ำ (Low Sulfur Fuel Oil: LSFO) กับน�้ ำมันดิบ ดูไบจะอยู่ที่ 9-12 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล ส่วนต่างราคาน�้ ำมัน แก๊สโซลีนกับน�้ ำมันดิบดูไบเฉลี่ยจะอยู่ที่ 14-18 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล ทั้งนี้ บริษัทฯ ยังคงบริหารจัดการรูปแบบการผลิต และสัญญาขายเพื่อให้สอดคล้องกับสถานการณ์อย่างต่อเนื่อง รวมถึงติดตามสถานการณ์ตลาดอย่างใกล้ชิดเพื่อบริหาร จัดการการจัดหาน�้ ำมันดิบในการผลิตและส่วนต่างราคาของ ผลิตภัณฑ์ให้มีความเหมาะสม โดยบริษัทฯ คาดการณ์อัตรา การใช้ก� ำลังการผลิตของโรงกลั่นในปี 2567 อยู่ที่ร้อยละ 101% ในขณะที่ผลิตภัณฑ์ปิโตรเคมีของโรงอะโรเมติกส์ บริษัทฯ คาดว่า ส่วนต่างของผลิตภัณฑ์พาราไซลีนกับแนฟทาในปี 2567 จะ ปรับตัวลดลงอยู่ที่ 370-390 เหรียญสหรัฐฯ ต่อตัน ปรับตัว ลดลงจากปี 2566 ยังคงมีปัจจัยกดดันจากสถานการณ์ ในปี 2566 โครงการปรับปรุงโรงโอเลฟินส์หน่วยที่ 2 (Olefins 2 Modification Project) ด� ำเนินการเชิงพาณิชย์ในเดือนกรกฎาคม 2566 ท� ำให้บริษัทฯ สามารถใช้โพรเพนเป็นวัตถุดิบในการผลิตได้เพิ่มขึ้น โดยโครงการดังกล่าวสอดคล้องกับแผนกลยุทธ์ของบริษัทฯ ในการเพิ่มความยืดหยุ่นในการใช้วัตถุดิบและเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันในระยะยาว ท� ำให้ก� ำลังการผลิตติดตั้งของ ผลิตภัณฑ์เอทิลีนและผลิตภัณฑ์โพรพิลีนรวมเพิ่มขึ้นจาก 3,680,000 ตันต่อปี เป็น 3,729,000 ตันต่อปี ประมาณการงบลงทุนในช่วง 5 ปีข้างหน้าของกลุ่มบริษัทฯ ความคืบหน้าโครงการที่ส� ำคัญ งบลงทุนของกลุ่มบริษัทฯ* ปี 2567-2571 ประมาณการงบลงทุน (ล้านเหรียญสหรัฐฯ) 2567 2568 2569 2570 2571 1) งบลงทุนของบริษัทฯ และบริษัทย่อย (ไม่รวม allnex) 192 151 37 3 1 - 2) งบลงทุนของบริษัท allnex 474 111 114 95 91 63 รวม 666 262 151 98 92 63 หมายเหตุ: * 1. งบซ่อมบ� ำรุงประจ� ำปีประมาณ 400 ล้านเหรียญสหรัฐฯ (รวมบริษัท allnex Holding GmbH) 2. โครงการ อาทิ โครงการเกี่ยวกับไอที & ดิจิทัล, โครงการปรับปรุงอาคารส� ำนักงานโครงการปรับปรุงประสิทธิภาพกระบวนการผลิต เป็นต้น 3. เงินลงทุนส� ำหรับการขยายธุรกิจของ allnex รวมถึงเงินลงทุนที่ได้รับอนุมัติแล้วและเงินลงทุนอยู่ระหว่างการพิจารณา 4. สมมติฐานอัตราแลกเปลี่ยนสกุลเหรียญสหรัฐฯ ต่อสกุลยูโรอยู่ที่ 1.01 ส� ำหรับงบลงทุนของบริษัท allnex 124

RkJQdWJsaXNoZXIy ODg4NTI=