GC_ONE REPORT 2021_TH

ในปี 2564 ธุรกิจบิสฟีนอล เอ (BPA) อยู่ในเกณฑ์ที่ดีเป็น ประวัติการณ์จากผลกระทบของปรากฏการณ์ Polar Vortex ใน ประเทศสหรัฐฯ ส่งผลให้ตลาดผลิตภัณฑ์อิพ็อกซี่ซึ่งเป็น ผลิตภัณฑ์ปลายน�้ ำเกิดความตึงตัวและราคาได้ปรับเพิ่มขึ้น อย่างมาก นอกจากนี้ การหยุดซ่อมบ� ำรุงกะทันหันของผู้ผลิต บางรายในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงเหนือ ประกอบกับความ ต้องการผลิตกังหันลมที่สอดรับกับนโยบายพลังงานสะอาดและ การลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ทั้งในภูมิภาคยุโรป สหรัฐฯ และเอเชียตะวันออกเฉียงเหนือโดยเฉพาะในประเทศจีน รวมทั้งมีการเลื่อนการผลิตเชิงพาณิชย์ที่ก� ำลังการผลิตรวมกว่า 610,000 ตันต่อปี จากปัจจัยข้างต้นส่งผลให้ราคาผลิตภัณฑ์ บิสฟีนอล เอ เพิ่มขึ้นมาเฉลี่ยอยู่ที่ 2,889 เหรียญสหรัฐฯ ต่อตัน หรือเพิ่มขึ้น 1,501 เหรียญสหรัฐฯ ต่อตัน หรือคิดเป็นร้อยละ 108 และมีส่วนต่างระหว่างราคาผลิตภัณฑ์และวัตถุดิบเฉลี่ยที่ 1,649 เหรียญสหรัฐฯ ต่อตัน หรือเพิ่มขึ้น 1,118 เหรียญสหรัฐฯ ต่อตันเมื่อเทียบกับปี 2563 แนวโน้มสถานการณ์ตลาดฟีนอลในปี 2565 ในปี 2565 คาดการณ์ว่าธุรกิจฟีนอลยังคงมีอัตราการท� ำก� ำไร อยู่ในระดับสูง แต่อาจจะอ่อนตัวลงจากปี 2564 แม้ว่าอุปทาน ในช่วงไตรมาสที่ 1 และ 2 ยังคงมีความตึงตัวเนื่องจากการหยุด ซ่อมเครื่องจักรของโรงงานในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงเหนือ แต่จะมีอุปทานใหม่ที่เพิ่มขึ้นโดยเฉพาะจากประเทศจีนโดย คิดเป็นก� ำลังการผลิตใหม่ที่จะเข้ามาเพิ่มในปี 2565 เบื้องต้น จ� ำนวน 330,000 ตันต่อปี (Effective capacity) ขณะที่คาดว่า อุปสงค์จะปรับเพิ่มขึ้นจากผลิตภัณฑ์ BPA และผลิตภัณฑ์ Cyclohexanone ที่มีความต้องการมากขึ้นจากการฟื้นตัวทาง เศรษฐกิจและการเติบโตของธุรกิจพลังงานทางเลือก เช่น Wind turbine เป็นต้น ธุรกิจอะซีโทนมีแนวโน้มชะลอตัวลงจากปี 2564 จากการขยาย ก� ำลังการผลิตของโรงงานฟีนอลในประเทศจีนขณะที่อุปสงค์มี แนวโน้มปรับตัวดีขึ้นตามสภาพเศรษฐกิจที่มีการฟื้นตัวจาก สถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 อย่างไรก็ตาม คาดการณ์ว่าอัตราการท� ำก� ำไรของอะซิโทนจะอ่อนตัวลงจาก ราคาผลิตภัณฑ์ปลายทางที่คาดว่าจะลดลงอย่างต่อเนื่อง ส� ำหรับธุรกิจบิสฟีนอล เอ มีแนวโน้มอ่อนตัวลงจากปี 2564 เนื่องจากมีอุปทานใหม่ที่เพิ่มขึ้นจากประเทศจีนรวมทั้งสิ้น 930,000 ตันต่อปี (Effective capacity) ได้แก่ อุปทานใหม่ที่ เข้ามาในช่วงปลายปี 2564 จ� ำนวน 610,000 ตันต่อปี ขณะที่ อุปสงค์มีแนวโน้มปรับตัวดีขึ้นจากปี 2564 ตามสภาพเศรษฐกิจ ที่ดีขึ้นและการเติบโตของธุรกิจพลังงานทางเลือก เช่น Wind turbine เป็นต้น สถานการณ์ตลาด กลุ่มธุรกิจผลิตภัณฑ์โพลิเมอร์ สถานการณ์ตลาดผลิตภัณฑ์โพลิเอทิลีน (PE) ในปี 2564 ปรับตัว ดีขึ้นกว่าปี 2563 โดยความต้องการผลิตภัณฑ์ PE ทั่วโลกปรับ เพิ่มขึ้น 5.7 ล้านตัน มาอยู่ที่ระดับ 115.3 ล้านตัน จาก 109.6 ล้านตัน หรือคิดเป็นร้อยละ 5.2 ซึ่งเป็นผลจากมาตรการควบคุม การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ทั่วโลกที่ผ่อนคลายมากขึ้น เป็นปัจจัยสนับสนุนให้ความต้องการใช้ผลิตภัณฑ์ PE ปรับตัว สูงขึ้น ในขณะที่ก� ำลังการผลิตผลิตภัณฑ์ PE ปรับเพิ่มขึ้น 7.4 ล้านตัน มาอยู่ที่ระดับ 133.2 ล้านตัน จาก 125.8 ล้านตัน หรือ คิดเป็นร้อยละ 5.8 ปัจจัยที่ช่วยสนับสนุนราคาผลิตภัณฑ์ PE ใน ปี 2564 ได้แก่ สภาวะอุปทานตึงตัวของวัตถุดิบและผลิตภัณฑ์ ปิโตรเคมีทั่วโลกในช่วงไตรมาสที่ 1 ถึงต้นไตรมาสที่ 2 หลัง ภาคการผลิตในสหรัฐฯ ต้องหยุดชะงักเนื่องจากได้รับผลกระทบ จาก Polar Vortex ส่งผลให้ราคาผลิตภัณฑ์ PE ปรับตัวสูงขึ้น การขาดแคลนเรือและตู้คอนเทนเนอร์ส� ำหรับขนส่งสินค้า (Freight and Container Shortage) อย่างต่อเนื่องได้ส่งผลกระทบ ต่อห่วงโซ่อุปทานทั่วโลก รวมถึงในช่วงปลายไตรมาสที่ 3 รัฐบาลจีนประกาศมาตรการควบคุมการใช้พลังงาน (Dual Control Energy Policy) ส่งผลให้ผู้ผลิตในประเทศจีนที่ได้รับ ผลกระทบจากมาตรการดังกล่าวจ� ำเป็นต้องหยุดหรือปรับลดลง ก� ำลังการผลิตลง อย่างไรก็ตาม สถานการณ์การแพร่ระบาดของ โควิด-19 ยังคงเป็นปัจจัยกดดันส� ำคัญต่อราคาผลิตภัณฑ์ PE ตลอดปี 2564 ส่งผลให้ราคาของผลิตภัณฑ์ HDPE และ LLDPE ณ ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ปี 2564 เฉลี่ยอยู่ที่ประมาณ 1,181 และ 1,200 เหรียญสหรัฐฯ ต่อตัน ปรับสูงขึ้นจากปี 2563 ประมาณ 301 และ 333 เหรียญสหรัฐฯ ต่อตันตามล� ำดับ ส� ำหรับ ผลิตภัณฑ์ LDPE ราคาเฉลี่ยอยู่ที่ประมาณ 1,516 ปรับตัวสูงขึ้น จากปี 2563 ประมาณ 506 เหรียญสหรัฐฯ ต่อตัน เนื่องจาก ความตึงตัวของสภาวะอุปทานที่เกิดขึ้นตลอดทั้งปี ขณะที่ส่วนต่าง ระหว่างราคาผลิตภัณฑ์ HDPE LLDPE LDPE และแนฟทา ปี 2564 อยู่ที่ 536, 554 และ 870 เหรียญสหรัฐฯ ต่อตัน ปรับตัว เพิ่มขึ้นจากปี 2563 ประมาณ 36, 67 และ 240 เหรียญสหรัฐฯ ต่อตันตามล� ำดับ สถานการณ์ตลาดเม็ดพลาสติกโพลีโพรพิลีน (PP) ในปี 2564 มีความผันผวนมาจากอุปทานที่ลดลงอย่างต่อเนื่องจากสหรัฐฯ ที่เป็นผู้ส่งออก PP ไปสู่ตลาดทวีปอเมริกาใต้ อันเนื่องมาจาก ปรากฏการณ์ Polar Vortex ส่งผลให้โรงงานผลิตปิโตรเคมีต้อง หยุดชะงัก ขณะที่สถานการณ์การส่งออกสินค้าทางเรือระหว่าง ภูมิภาคมีปริมาณลดลง เนื่องจากปริมาณตู้สินค้าและเรือที่ สามารถให้บริการได้ลดจ� ำนวนลง ท� ำให้อุปทาน PP จากภูมิภาค เอเชียซึ่งมีปริมาณเพิ่มขึ้นจากก� ำลังการผลิตใหม่ไม่สามารถ ส่งออกไปยังตลาดที่ประสบกับภาวะอุปทาน PP ขาดแคลนหรือ ตลาดที่มีอุปสงค์ PP เพิ่มขึ้น เช่น ทวีปอเมริกาใต้ สหรัฐฯ หรือ ทวีปยุโรปที่สามารถฟื้นตัวจากการควบคุมสถานการณ์การแพร่ ระบาดของไวรัสโควิด-19 ได้ดีหลังจากที่มีการฉีดวัคซีนให้แก่ ประชาชนอย่างทั่วถึง นอกจากนี้ ภาวะราคาพลังงานที่แพงขึ้น จากนโยบายควบคุมการใช้พลังงานในจีนและยุโรปยังส่งผลให้ โรงงานในภูมิภาคดังกล่าวต้องปรับลดการผลิตลงในบางช่วง เวลา ส่งผลให้ราคา PP ปรับตัวสูงขึ้นในช่วงเวลาดังกล่าว และ สร้างความผันผวนให้กับตลาด PP ราคาเฉลี่ย PP Film ส่งออกไปยังภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ในปี 2564 คาดการณ์อยู่ที่ประมาณ 1,321 เหรียญสหรัฐฯ ต่อตัน ปรับตัว เพิ่มขึ้นจากราคาเฉลี่ยปี 2563 ประมาณ 329 เหรียญสหรัฐฯ ต่อตัน ขณะที่ส่วนต่างระหว่างราคาผลิตภัณฑ์ PP และแนฟทา ในปี 2564 คาดการณ์อยู่ที่ประมาณ 675 เหรียญสหรัฐฯ ต่อตัน ปรับตัวเพิ่มขึ้นจากค่าเฉลี่ยปี 2563 ประมาณ 63 เหรียญสหรัฐฯ ต่อตัน 64 บริษัท พีทีที โกลบอล เคมิคอล จำ �กัด (มหาชน) แบบ 56-1 One Report ประจำ �ปี 2564

RkJQdWJsaXNoZXIy ODg4NTI=