GC_ONE REPORT 2021_TH

สถานการณ์เศรษฐกิจ สถานการณ์เศรษฐกิจโลกยังคงได้รับผลกระทบจากการ แพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ที่ต่อเนื่องมาตั้งแต่ปี 2563 หลาย ประเทศต้องด� ำเนินมาตรการปิดประเทศและการเว้นระยะห่าง ทางสังคม ส่งผลให้เศรษฐกิจโลกซบเซาอย่างหนัก แม้ว่าใน ปี 2564 เศรษฐกิจเริ่มฟื้นตัวจากความคืบหน้าของการกระจาย การฉีดวัคซีน การผ่อนคลายมาตรการควบคุมการแพร่ระบาด และนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจในหลายๆ ประเทศทั่วโลก อย่างไรก็ตาม ยังมีแรงกดดันจากอัตราเงินเฟ้อที่เพิ่มสูงขึ้น หนี้สาธารณะที่เพิ่มขึ้นจากนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจ รวมถึง การกลายพันธุ์ของไวรัสโควิด-19 สายพันธุ์เดลตาเป็นปัจจัยลบ ที่ส่งผลต่อการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ โดยคาดการณ์เศรษฐกิจโลก ในปี 2564 ปรับตัวเพิ่มขึ้นที่ร้อยละ 5.9 เมื่อเทียบกับปี 2563 (IMF, ตุลาคม 2564) และระดับการเติบโตกลับมาใกล้เคียงเมื่อ เทียบกับช่วงก่อนเกิดวิกฤตโควิด-19 ในปี 2562 แนวโน้มเศรษฐกิจโลกในปี 2565 คาดว่าเศรษฐกิจจะปรับตัวดีขึ้น อย่างต่อเนื่อง โดยมีแรงขับเคลื่อนจากกลุ่มประเทศเศรษฐกิจ ขนาดใหญ่ที่ฟื้ นตัวอย่ างรวดเร็วหลังมีมาตรการกระตุ้น เศรษฐกิจและการกระจายการฉีดวัคซีนที่มีประสิทธิภาพ แต่ยัง คงมีความไม่แน่นอนของสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัส โควิด-19 ประกอบกับมีการกลายพันธ์ุของไวรัสโควิด-19 สายพันธุ์ใหม่โอไมครอนที่เริ่มแพร่ระบาดตั้งแต่ปลายปี 2564 เป็นปัจจัยกดดันอย่างต่อเนื่อง โดยภาพรวมคาดการณ์การ เติบโตเศรษฐกิจโลกในปี 2565 จะขยายตัวได้ที่ร้อยละ 4.9 เมื่อ เทียบกับปี 2564 (IMF, ตุลาคม 2564) เศรษฐกิจไทยในปี 2564 คาดว่าจะขยายตัวที่ร้อยละ 0.7 โดย ปรับตัวเพิ่มขึ้นเพียงเล็กน้อยจากมาตรการควบคุมการแพร่ระบาด ของไวรัสโควิด-19 ที่เข้มงวด ส่งผลเชิงลบต่อการบริโภคภาค เอกชน รายได้ครัวเรือน และรายได้จากการท่องเที่ยวที่ชะลอลง อย่างมาก อย่างไรก็ตาม ยังคงมีปัจจัยบวกจากการใช้จ่าย ภาครัฐเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจและการส่งออกที่เริ่มขยายตัวดีขึ้น ตามการฟื้นตัวของประเทศคู่ค้า ขณะที่เศรษฐกิจไทยในปี 2565 มีแนวโน้มขยายตัวที่ร้อยละ 3.9 จากการผ่อนคลายมาตรการ ควบคุมการแพร่ระบาดและการกระจายการฉีดวัคซีนอย่างต่อเนื่อง และมาตรการเปิ ดประเทศจะช่ วยกระตุ้ นเศรษฐกิจทั้ง ภาคครัวเรือนและการท่องเที่ยว แต่ยังคงมีปัจจัยเสี่ยงจากการ กลายพันธุ์ของไวรัส และความต่อเนื่องของมาตรการภาครัฐเพื่อ สนับสนุนเศรษฐกิจในระยะยาว (ธนาคารแห่งประเทศไทย, ตุลาคม 2564) สถานการณ์ตลาดกลุ่มผลิตภัณฑ์ ปิโตรเลียม สถานการณ์ตลาดน�้ ำมันดิบในปี 2564 มีการฟื้ นตัวจาก สถานการณ์โควิด-19 จากการฉีดวัคซีนที่มีจ� ำนวนเพิ่มขึ้น ท� ำให้ กิจกรรมทางเศรษฐกิจฟื้นตัวขึ้น ส่งผลให้อุปสงค์น�้ ำมันโลกมี แนวโน้มขยายตัวเพิ่มขึ้น 5.5 ล้านบาร์เรลต่อวัน เทียบกับปี 2563 (ข้อมูลจากส� ำนักงานพลังงานสากล-IEA รายงาน ณ เดือน พฤศจิกายน 2564) อย่างไรก็ตาม การกลายพันธุ์ของไวรัสโควิด-19 สายพันธ์ุเดลตา ที่แพร่ระบาดในอินเดีย เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ออสเตรเลีย ในช่วงไตรมาสที่ 3 ส่งผลให้เกิดการชะลอความ ต้องการน�้ ำมันดิบ แต่ในช่วงต้นของไตรมาสที่ 4 ความต้องการ ใช้น�้ ำมันปรับสูงขึ้นจากสถานการณ์การแพร่ระบาดที่เบาบางลง โดยเฉพาะภูมิภาคเอเชีย การเดินทางภาคพื้นดินของทั้งโลก ได้กลับเข้าใกล้สู่ภาวะปกติก่อนเกิดโควิด-19 ขณะที่การเดินทาง ทางอากาศฟื้นตัวที่ระดับร้อยละ 60 แต่ในช่วงเดือนพฤศจิกายน พบว่าการระบาดของโควิด-19 ในทวีปยุโรปได้กลับมาเพิ่มขึ้น อีกครั้งในช่วงฤดูหนาว จากกลุ่มผู้ไม่ได้รับการฉีดวัคซีน ท� ำให้ ยุโรปมีการประกาศข้อจ� ำกัดการเดินทาง หรือมาตรการ Lock Down อีกครั้ง นอกจากนี้ ยังเกิดการระบาดของไวรัสโอไมครอน ซึ่ง เป็นไวรัสกลายพันธุ์ชนิดใหม่ โดยตั้งต้นจากทวีปแอฟริกาใต้ ซึ่ง เป็นประเทศที่มีอัตราการฉีดวัคซีนอยู่ในระดับต�่ ำ องค์การ อนามัยโลกมีความกังวลต่อการแพร่ระบาดของไวรัสโอไมครอน รวมถึงความไม่แน่ชัดของประสิทธิภาพวัคซีน ส่งผลท� ำให้หลาย ประเทศมีการประกาศข้อจ� ำกัดการเดินทางหรือมาตรการที่ เข้มงวดมากขึ้นเพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของไวรัสสายพันธุ์ใหม่ จากความกังวลนี้ส่งผลท� ำให้ความต้องการใช้น�้ ำมันชะลอลง อีกครั้งในช่วงปลายปี ในส่วนของปริมาณการผลิตน�้ ำมันดิบพบว่าผู้ผลิตรายใหญ่อย่าง กลุ่มโอเปกพลัส และประเทศสหรัฐฯ ไม่ได้ปรับปริมาณการผลิต เพิ่มเท่าการฟื้นตัวของความต้องการใช้ โดยกลุ่มโอเปกพลัสมีมติ ปรับเพิ่มก� ำลังการผลิต 4 แสนบาร์เรลต่อวันตั้งแต่เดือน กรกฎาคม 2564 จนถึงเดือนกันยายน 2565 แต่ปริมาณ การผลิตจริงต�่ ำกว่าข้อตกลง เนื่องจากบางประเทศสมาชิกไม่ สามารถเพิ่มก� ำลังการผลิตตามเป้าหมายได้ เช่น ประเทศแองโกลา และประเทศไนจีเรีย จากปัญหาขาดการลงทุนและการซ่อมบ� ำรุง การผลิตท� ำให้ราคาน�้ ำมันปรับตัวสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ท� ำให้ ประเทศผู้ใช้น�้ ำมันรายใหญ่น� ำโดยสหรัฐฯ มีการเรียกร้องให้กลุ่ม โอเปกพลัสเพิ่มก� ำลังการผลิตมากกว่าข้อตกลงเดิม เพื่อลด ความร้อนแรงของราคาน�้ ำมัน แต่กลุ่มโอเปกคงมติเพิ่มก� ำลัง การผลิตที่ 4 แสนบาร์เรลต่อวัน ดังนั้น สหรัฐฯ และประเทศผู้ใช้ น�้ ำมันรายใหญ่ ได้แก่ สหราชอาณาจักร อินเดีย ญี่ปุ่น และ เกาหลีใต้ จึงมีการปล่อยน�้ ำมันจากคลังส� ำรองทางยุทธศาสตร์ ตลาด และภาวะการแข่งขัน 59 การประกอบธุรกิจ และผลการดำ �เนินงาน การกำ �กับดูแลกิจการ งบการเงิน ภาคผนวก

RkJQdWJsaXNoZXIy ODg4NTI=