GC_ONE REPORT 2021_TH

การบริหารจัดการน�้ ำ บริษัทฯ มุ่งมั่นที่จะเป็นส่วนหนึ่งในการบรรลุเป้าหมายการ พัฒนาที่ยั่งยืนของสหประชาติ เป้าหมายที่ 6 การจัดการน�้ ำ และสุขาภิบาล (UN SDG 6: Clean Water and Sanitation) ซึ่งมุ่งเน้นการบริหารจัดการและรับมือกับ วิกฤตน�้ ำอย่างยั่งยืนทั้งภายในและภายนอกองค์กร โดยใช้ กลยุทธ์การบริหารจัดการน�้ ำอย่างยั่งยืน (One Water Strategy) มุ่งเน้นให้มีการก� ำกับดูแลกิจการ (Governance) ผ่านคณะท� ำงาน Water Management Taskforce และ Supply Chain Management Taskforce เพื่อให้มีการ จัดการทรัพยากรน�้ ำอย่างยั่งยืน (Water Stewardship) และ การมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการน�้ ำ (Resilience) โดย เพิ่มประสิทธิภาพการใช้น�้ ำในกระบวนการผลิตอย่างสูงสุด พร้อมทั้งส่งเสริมการมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนได้เสียเพื่อลด ผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากการขาดแคลนน�้ ำ และรักษาไว้ ซึ่งทรัพยากรน�้ ำที่เพียงพอต่อการใช้อุปโภค บริโภคของ ทุกภาคส่วน จากผลกระทบด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพ ภูมิอากาศที่ก่อให้เกิดภาวะน�้ ำแล้งที่รุนแรงมากขึ้นในแต่ละปี ประกอบกับความต้องการการใช้ทรัพยากรน�้ ำของทุก ภาคส่วนที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ทั้งในภาคอุตสาหกรรม เกษตรกรรม และชุมชน อาจส่งผลให้บริษัทฯ เผชิญกับ วิกฤตการณ์ขาดแคลนน�้ ำส� ำหรับกระบวนการผลิตทั้งในเชิง คุณภาพและปริมาณ ด้วยเหตุนี้ บริษัทฯ ได้ประเมินความเสี่ยง ด้านน�้ ำในแต่ละพื้นที่ฐานการผลิต (Water Stress Areas) ด้วยเครื่องมือ Aqueduct Water Risk Atlas เพื่อลดการ ดึงน�้ ำจืดจากแหล่งน�้ ำธรรมชาติ และลดปริมาณการใช้น�้ ำ ในกระบวนการผลิต รวมถึงติดตามสถานการณ์น�้ ำในแหล่ง เก็บน�้ ำต้นทาง ตลอดจนส่งเสริมการอนุรักษ์น�้ ำร่วมกับ ภาครัฐ ภาคอุตสาหกรรม และชุมชน เพื่ออนุรักษ์และรักษา คุณภาพน�้ ำ พร้อมทั้งเปิดเผยการด� ำเนินงานด้านการบริหาร จัดการน�้ ำและผลกระทบทางน�้ ำอย่างโปร่งใส และสอดคล้อง กับข้อก� ำหนดของ GRI Standards ส่งผลให้บริษัทฯ ได้รับ การประเมินให้อยู่ระดับ A (Leader Level) ซึ่งเป็นระดับสูงสุด ภายใต้กรอบการประเมินของสถาบันประเมินความยั่งยืน ที่น่าเชื่อถือระดับโลก Carbon Disclosure Project (CDP) อย่างต่อเนื่องเป็นปีที่ 2 สะท้อนถึงการเป็นองค์กรที่มุ่งมั่น ในการด� ำเนินการบริการจัดการน�้ ำอย่างยั่งยืน (Water Security) ความรับผิดชอบต่อผลิตภัณฑ์ (Product Stewardship) บริษัทฯ มุ่งเน้นการสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อ สิ่งแวดล้อมและปลอดภัยต่อผู้บริโภคตามหลักเศรษฐกิจ หมุนเวียน (Circular Economy) โดยมีลูกค้าเป็นศูนย์กลาง ธุรกิจ พร้อมทั้งค� ำนึงถึงผลกระทบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม ตลอดวัฏจักรชีวิตผลิตภัณฑ์ (Product Life Cycle) เพื่อตอบสนองความต้องการ ยกระดับคุณภาพชีวิตของ ผู้บริโภค ควบคู่ไปกับการเติบโตอย่างยั่งยืนของบริษัทฯ ผลกระทบจากสภาพอากาศเปลี่ยนแปลง รวมทั้งการ แพร่ ระบาดของโควิด-19 ส่ งผลให้ พฤติกรรมและ ความต้องการของผู้บริโภคเปลี่ยนแปลงไป โดยมีความ ต้องการผลิตภัณฑ์ที่ปลอดภัยต่อสุขภาพ และสิ่งแวดล้อม มากขึ้น บริษัทฯ จึงพัฒนาผลิตภัณฑ์เพื่อตอบสนองต่อ ความต้องการของลูกค้าและผู้บริโภค โดยใช้หลักเกณฑ์การ ประเมินการออกแบบเชิงนิเวศเศรษฐกิจ (Eco-Design Guideline) และแนวทางการออกแบบผลิตภัณฑ์เชิงนิเวศ เศรษฐกิจ (Eco-Design Criteria) โดยอ้างอิงจากมาตรฐาน ISO 14062 ควบคู่กับหลักการประเมินวัฏจักรชีวิต ผลิตภัณฑ์ (Life Cycle Assessment: LCA) เพื่อลด ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและสังคม ตลอดห่วงโซ่คุณค่า ของผลิตภัณฑ์ นอกจากนี้ บริษัทฯ ได้ก� ำหนดแผนงาน “B-to-B Touch C” โดยมีจุดมุ่งหมายในการสร้างคุณค่า ของผลิตภัณฑ์ ตามหลักเศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) ให้เข้าถึงผู้บริโภค (C: Consumer) ผ่านการ สร้างความร่วมมือทางธุรกิจ (B-to-B) กับบริษัทแปรรูป พลาสติก (Converter) และเจ้าของแบรนด์สินค้า (Brand Owner) รวมถึงพันธมิตรตลอดห่วงโซ่คุณค่า โดยแผน กลยุทธ์ส� ำหรับการด� ำเนินงานด้านความรับผิดชอบต่อ ผลิตภัณฑ์ (Product Stewardship) เป็นแนวทางในการ บริหารจัดการและพัฒนาผลิตภัณฑ์ของบริษัทฯ โดยค� ำนึง ถึงการลดผลกระทบกับสิ่งแวดล้อมและเพิ่มความปลอดภัย ตลอดวัฎจักรชีวิตของผลิตภัณฑ์ จึงท� ำการประเมิน วัฏจักรชีวิตผลิตภัณฑ์ครอบคลุมทุกผลิตภัณฑ์ เพื่อพัฒนา ผลิตภัณฑ์ตามความต้องการบริโภคสินค้าที่เป็นมิตรกั บสิ่งแวดล้อมในอนาคต นอกจากนี้ ผลิตภัณฑ์ของกลุ่ม บริษัทฯ ยังได้รับการรับรองฉลากคาร์บอนฟุตพริ้นท์ของ ผลิตภัณฑ์ (Carbon Footprint of Products: CFP) และ ฉลากลดคาร์บอนฟุตพริ้นท์ของผลิตภัณฑ์ หรือฉลาก ลดโลกร้อน (Carbon Footprint Reduction: CFR) จาก องค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน) หรือ อบก. ซึ่งเป็นองค์กรในสังกัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม รวมทั้ง ส่งเสริมให้ผลิตภัณฑ์ของกลุ่ม บริษัทฯ ได้รับการรับรองฉลากวอร์เตอร์ฟุตพริ้นต์ (Water Footprint: WF) จากสถาบันน�้ ำและสิ่งแวดล้อมเพื่อ ความยั่งยืน สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย มากไปกว่านั้น บริษัทฯ ได้รับเลือกให้เป็นบริษัทน� ำร่องใน การขอรับการรับรองเครื่องหมายคาร์บอนฟุตพริ้นท์ของ ผลิตภัณฑ์เศรษฐกิจหมุนเวียน (Carbon Footprint of Circular Economy Product: CE-CFP) ครั้งแรกของ ประเทศไทย เป็นการส่งเสริมการผลิตสินค้าตามหลักการ เศรษฐกิจหมุนเวียนให้เพิ่มมากขึ้น ใช้ทรัพยากรอย่างมี ประสิทธิภาพสูงสุด และเชื่อมโยงสู่การลดปริมาณการปล่อย ก๊าซเรือนกระจกทั้งในระดับภาคอุตสาหกรรมและเชื่อมโยง สู่ระดับประเทศ ตลอดจนเป็นเครื่องมือหนึ่งในการเพิ่มขีด ความสามารถในการแข่งขันของภาคอุตสาหกรรมของไทย ในตลาดโลกและเตรียมความพร้อมรับมือกับมาตรการ ทางการค้าในระยะยาวทั้งในระดับอาเซียนและระดับสากล 179 การประกอบธุรกิจ และผลการดำ �เนินงาน การกำ �กับดูแลกิจการ งบการเงิน ภาคผนวก

RkJQdWJsaXNoZXIy ODg4NTI=